บทที่ 1 ความปลอดภัยและทักษะในการปฏิบัติการเคมี
ข้อควรรู้เกี่ยวกับสารเคมี
องค์ประกอบที่บ่งชี้อันตรายของความเป็นยาพิษที่เกิดจากสารเคมีขึ้นอยู่กับ
สารเคมีเข้าสู่ร่างกายโดย
ความเป็นพิษของสารเคมี แบ่งเป็นกลุ่มได้ดังนี้
สารเคมีที่สั่งซื้อมาใช้ ควรมีฉลากปิดกำกับดังนี้
นอกจากนี้บริษัทฯ ควรจะได้มีข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ ประกอบด้วย
หลักในการควบคุมและป้องกันอันตราย จากสารเคมี
แหล่งกำเนิดของสารเคมี
ทางผ่านของสารเคมี
ผู้ปฏิบัติงาน
การใช้สารเคมี
ปฐมพยาบาลเบื้องต้นจากอุบัติเหตุจากการใช้สารเคมี มีข้อปฏิบัติดังนี้
การปฐมพยาบาลเมื่อร่างกายสัมผัสสารเคมี
1. ถอดเสื้อผ้าบริเวณที่เปื้อนสารเคมีออก และซับสารเคมีออกจากร่างกายให้มากที่สุด
2. กรณีเปื้อนสารเคมีที่ละลายน้ำได้ เช่น กรดหรือเบส ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยการ
เปิดน้ำไหลผ่านปริมาณมาก
3. กรณีเป็นสารเคมีที่ไม่ละลายน้ำ ให้ล้างบริเวณที่สัมผัสสารเคมีด้วยน้ำสบู่
4. หากทราบว่าสารเคมีที่สัมผัสร่างกายคือสารใด ให่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเอกสารความ
ปลอดภัยของสารเคมี
กรณีที่ร่างกายสัมผัสสารเคมีในปริมาณมากหรือมีความเข้มข้นสูง ให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วนำส่งแพทย
การปฐมพยาบาลเมื่อสารเคมีเข้าตา
ตะแคงศีรษะโดยให้ตาด้านที่สัมผัสสารเคมีอยู่ด้านล่าง ล่างตาโดยการเปิดน้ำเบา ๆ ไหลผ่าน
ดั้งจมูกให้น้ำไหลผ่านตาข้างที่โดนสารเคมี ดังรูป 1.5 พยายามลืมตาและกรอกตาในน้ำอย่างน้อย 10
นาที หรือจนกว่าแน่ใจว่าชะล้างสารออกหมดแล้ว ระวังไม่ให้น้ำเข้าตาอีกข้างหนึ่ง แล้วนำส่งแพทย์
ทันที
1. เมื่อมีแก็สพิษเกิดขึ้น ต้องรีบออกจากบริเวณนั้นและไปบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกทันที
2. หากมีผู้ที่สูดดมแก็สพิษจนหมดสติหรือไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องรีบเคลื่อนย้าย
ออกจากบริเวณนั้นทันที โดยที่ผู้ช่วยเหลือต้องสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น หน้ากากป้องกัน
แก็สพิษ ผ้าปิดปาก
3. ปลดเสื้อผ้าเพื่อให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหายใจได้สะดวกขึ้น หากหมดสติให้จับนอนคว่ำและ
ตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันโคนลิ้นกีดขวางทางเดินหายใจ
4. สังเกตการเต้นของหัวใจและการหายใจ หากว่าหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจให้นวดหัวใจ
และผายปอดโดยผู้ที่ผ่านการฝึก แต่ไม่ควรใช้วิธีเป่าปาก (mouth to mouth) แล้วนำส่งแพทย์ทันที
การปฐมพยาบาลเมื่อโดนความร้อน
แช่น้ำเย็นหรือปิดแผลด้วยผ้าชุบน้ำจนหายปวดแสบปวดร้อน แล้วทายาขี้ผึ้งสำหรับไฟไหม้
และน้ำร้อนลวก หากเกิดบาดแผลใหญ่ให้นำส่งแพทย์
กรณีที่สารเคมีเข้าปากให้ปฏิบัติตามคำแนะนำตามเอกสารความปลอดภัย
อุปกรณ์วัดปริมาตร
ขวดวัดปริมาตร เป็นขวดแก้วคอยาว มีขีดแสดงปริมาตรกำกับอยู่รอบคอขวดเพียงขีดเดียว และมีจุกปิดด้านบน เพื่อใช้ปิดเวลาเขย่าสารให้เข้ากัน
บิวเรตต์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในเคมีวิเคราะห์ เพื่อจ่ายตัวแปรซึ่งวัดปริมาณของสารเคมีในสารละลาย บิวเรตต์แบบปริมาตรใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลว พิสตันบิวเรตต์ (Piston burette) มีลักษณะคล้ายกับหลอดดูดยา ทว่ามมีลูกสูบและที่บิด โดยสามารถใช้ด้วยมือหรือใช้เครื่องยนต์ช่วย บิวเรตต์แบบน้ำหนัก (weight burette) ปล่อยของเหลวตามน้ำหนัก
ปิเปตต์ เป็นหลอดแก้วใส ยาว ปลายเปิด ใช้สำหรับถ่ายเทของเหลวตามปริมาตรที่ต้องการอย่างละเอียดและมีความถูกต้องมากกว่ากระบอกตวง
ขวดรูปชมพู่ (อังกฤษ: Erlenmeyer flask; conical flask titration flask) หรือ ขวดเออเลนเมเยอร์ เป็นขวดทดลองในห้องปฏิบัติการที่มีก้นแบน ตัวทรงกรวย และคอทรงกระบอก ถูกตั้งชื่อตาม เอมิล เออเลนเมเยอร์ (Emil Erlenmeyer; ค.ศ. 1825–1909) ผู้สร้างขึ้นมาเมื่อ ค.ศ. 1860
บีกเกอร์ เป็นแก้วใส ใช้สำหรับบรรจุสารที่มีปริมาณมาก เพื่อละลายสารหรือทำปฏิกิริยาเคมี และสามารถเทสารออกได้ง่ายทางปากบีกเกอร์ โดยจะมีขีดบอกปริมาตรซึ่งเป็นค่าโดยประมาณเท่านั้น
อุปกรณ์วัดมวล
เครื่องชั่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดมวลทั้งที่เป็นของแข็งและของเหลวความน่าเชื่อถือของค่าวัดมวลที่ได้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเครื่องชั่งและวิธีการใช้เครื่องชั่ง
เลขนัยสำคัญ
- เลข 1 ถึง 9 ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 45 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 548 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- 656.54 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่ระหว่างตัวเลข(1-9) ให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 3005 มีเลขนัยสำคัญ 4 ตัว
- 50.005 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 8.0002 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- เลข 0 อยู่หลังตัวเลข(1-9) และมีจุดทศนิยมให้นับเป็นเลขนัยสำคัญ เช่น
- 4.0 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 180.03 มีเลขนัยสำคัญ 5 ตัว
- 801 มีเลขนัยสำคัญ 3 ตัว
- เลข 0 อยู่ด้านซ้ายมือของตัวเลขไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
- 007 มีเลขนัยสำคัญ 1 ตัว
- 0.035 มีเลขนัยสำคัญ 2 ตัว
- 0.004004500 มีเลขนัยสำคัญ 7 ตัว
- ไม่นับเป็นเลขนัยสำคัญ
ในปี พ.ศ. 2503 ได้มีการประชุมร่วมกันของนักวิทยาศาสตร์ จากหลาย ๆ ประเทศเพื่อตกลงให้มีระบบการวัดปริมาณต่าง ๆ เป็นระบบมาตรฐาน ที่เรียกว่า หน่วยระหว่างชาติ (International System of Unit หรือ System - International d' Unit) และกำหนดให้ใช้อักษรย่อแทนชื่อระบบนี้ว่า "SI" หรือ หน่วย เอสไอ (SI Unit) เพื่อใช้ในการวัดทางวิทยาศาสตร์
ชื่อหน่วยวัด | สัญลักษณ์หน่วยวัด | ชื่อปริมาณ | สัญลักษณ์ปริมาณ |
---|---|---|---|
เมตร | m | ความยาว | l (L ตัวเล็ก) |
กิโลกรัม | kg | มวล | m |
วินาที | s | เวลา | t |
แอมแปร์ | A | กระแสไฟฟ้า | I (i ตัวใหญ่) |
เคลวิน | K | อุณหภูมิอุณหพลวัติ | T |
แคนเดลา | cd | ความเข้มของการส่องสว่าง | Iv (i ตัวใหญ่ห้อยด้วยตัว v เล็ก) |
โมล | mol | ปริมาณของสาร | n |
หน่วยอนุพัทธ์ (Derived units)
ชื่อหน่วย | สัญลักษณ์ | ปริมาณ | การแสดงออกในรูปหน่วยฐาน |
---|---|---|---|
เฮิรตซ์ | Hz | ความถี่ | s−1 |
เรเดียน | rad | มุม | m·m−1 (ไม่มีไดเมนชัน) |
สเตอเรเดียน | sr | มุมตัน | m2·m−2 (ไม่มีไดเมนชัน) |
นิวตัน | N | แรง | kg m s −2 |
จูล | J | พลังงาน | N m = kg m2 s−2 |
วัตต์ | W | กำลัง | J/s = kg m2 s−3 |
ปาสกาล | Pa | ความดัน | N/m2 = kg m −1 s−2 |
ลูเมน | lm | ฟลักซ์ส่องสว่าง | cd sr = cd |
ลักซ์ | lx | ความสว่าง | cd m−2 |
คูลอมบ์ | C | ประจุไฟฟ้า | A s |
โวลต์ | V | ความต่างศักย์ | J/C = kg m2 A−1 s−3 |
โอห์ม | Ω | ความต้านทานไฟฟ้า | V/A = kg m2 A−2 s−3 |
ฟารัด | F | ความจุไฟฟ้า | Ω−1 s = A2 s4 kg−1 m−2 |
เวเบอร์ | Wb | ฟลักซ์แม่เหล็ก | kg m2 s−2 A−1 |
เทสลา | T | ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก | Wb/m2 = kg s−2 A−1 |
เฮนรี | H | ความเหนี่ยวนำไฟฟ้า | Ω s = kg m2 A−2 s−2 |
ซีเมนส์ | S | ความนำ | Ω−1 = kg−1 m−2 A2 s3 |
เบกเคอเรล | Bq | กันมันตภาพของรังสี | s−1 |
เกรย์ | Gy | ขนาดกำหนดของการดูดกลืนรังสี | J/kg = m2 s−2 |
ซีเวิร์ต | Sv | ขนาดกำหนดของกัมมันตภาพรังสี | J/kg = m2 s−2 |
องศาเซลเซียส | °C | อุณหภูมิอุณหพลวัต | K − 273.15 |
คาทัล | kat | อำนาจการเร่งปฏิกิริยา | mol/s = s−1·mol |
การทำปฏิบัติการเคมีนอกจากต้องมีการวางแผนการทดลอง การทำการทดลอง การบันทึกข้อมูล การสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอข้อมูล และการเขียนรายงานการทดลองที่ถูกต้อง แล้วต้อง คำนึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และจิตวิทยาศาสตร์
1. การสังเกต เป็นจุดเริ่มต้นของการได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการศึกษา โดยอาศัยประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ การมองเห็น การฟังเสียง การได้กลิ่น การรับรส และการสัมผัส จากข้อมูลดังกล่าวจะนำไปสู่ข้อสงสัยหรือตั้งเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ ดังนั้นการสังเกตจึงเป็นทักษะที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. การตั้งสมมติฐาน เป็นการคาดคะเนคำตอบของคำถามหรือปัญหา โดยมีพื้นฐานจากการ
สังเกต ความรู้ หรือประสบการณ์เดิม โดยทั่วไปสมมติฐานจะเขียนในรูปของข้อความที่แสดงเหตุและ
ผลที่เกิดขึ้น หรืออีกนัยหนึ่งจะเป็นความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
3. การตรวจสอบสมมติฐาน เป็นกระบวนการหาคำตอบของสมมติฐาน โดยมีการออกแบบ
การทดลองให้มีการควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการทดลอง รวมถึงขั้นตอนการทดลองที่ชัดเจน
4. การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกต การตรวจสอบ
สมมติฐาน มารวบรวม วิเคราะห์ และอธิบายข้อเท็จจริง
5. การสรุปผล เป็นการสรุปความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐาน และมีการเปรียบเทียบกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้า
ทั้งนี้ ในการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์นั้นไม่มีรูปแบบที่ตายตัว โดยอาจมีรายละเอียดที่
แตกต่างกันขึ้นอยู่กับคำถาม บริบท หรือวิธีการที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ที่ผ่านมานั้นมีการทดลองและกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้ได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาหาความรู้
1. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด
ก. CH2 , NH3 , C6H6 ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8 ค. Br2 , H2O , H2 ง. SiH4 , PCl3 , PCl5
2. จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ คือข้อใด
3. ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด
ก. Na ข. Ra ค. C ง. Cs
4. ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด
ก. 1 ข. 4 ค. 6 ง. 7
5. ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
ชนิดพันธะ | พลังงานพันธะ |
C - H | 413 |
C - C | 348 |
ก. มากกว่า 587 kJ ข. น้อยกว่า 283 kJ ค. มากกว่า 526 kJ ง. น้อยกว่า 278 kJ
6. สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
7. เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก
8. X เป็นสารประกอบของธาตุ Ca และ F มีจุดหลอมเหลวสูง ไม่นำไฟฟ้าที่อุณหภูมิห้อง และละลายน้ำได้น้อยมาก ข้อสรุปใดต่อไปนี้ ไม่ สอดคล้องกับข้อมูลข้างต้น
ก. พันธะในสาร X เป็นพันธะไอออนิก
ข. เมื่อ X ละลายน้ำ จะดูดความร้อน ทำให้ละลายได้น้อย
ค. X มีสูตร CaF2 ผลึกมีความแข็งแรงมากจึงละลายได้ยาก
ง. สาร X เมื่อหลอมเหลวจะนำไฟฟ้า
9. สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
ก. เป็นกลาง ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส ค. เป็นกรด ง. เป็นเบส
10. กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย
ก. A-B , B-X , X-Y ข. A-Y , B-X , A-X ค. Y-B , A-Y , A-X ง. A-X , B-Y , A-Y
1) แคลเซียมคลอไรด์ 2) แอมโมเนียมซัลเฟต 3 )เมอร์คิวรี(I)คลอไรด์
4) ไ อร์ออน(III)ไฮดรอกไซด์ 5) โพแทสเซียมฟอสเฟต
ก. 1 2 3 ข. 1 2 5 ค. 2 3 4 ง. 2 3 5
12. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่
13. ถ้า A, B ,C ,D เป็นธาตุที่มีเลขอะตอม 7,11,17 และ 20 ตามลำดับ สูตรของไอออนและสารประกอบไอออนิกในข้อใดถูกต้อง
ข้อ | ไอออนบวก | ไอออนลบ | สูตรสารประกอบไอออนิก |
ก | D2+ | A3- | D3A2 |
ข | C3+ | B2- | C2B3 |
ค | B+ | A- | BA |
ง | A+ | C- | AC |
14. เมื่อละลาย KCl ในน้ำเกิดปฏิกิริยาเป็นขั้น ๆ และมีการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ดังนี้
1) KCl(s) -----> K+(g) + Cl-(aq) H1 = 701.2 kJ/mol
2) K+(g) + Cl-(g) -------> K+(aq) + Cl-(aq) H2 = 684.1 kJ/mol
ปฏิกิริยานี้เป็นแบบใด
ก. คายพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol ข. คายพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol
ค. ดูดพลังงานเท่ากับ 17.1 kJ/mol ง. ดูดพลังงานเท่ากับ 1385.3 kJ/mol
15. สาร X , Y , Z มีพลังงานพันธะเป็น 120 , 200 , 90 kJ/mol ตามลำดับ จงเรียงความยาวพันธะจากน้อยไปมาก
ก. X , Y , Z ข. Z , Y , X ค. Y , X , Z ง. Z , X , Y
16. ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับสมบัติของสารประกอบไอออนิก
ก. นำไฟฟ้าได้ทุกสถานะ ข. เกิดจากการรวมตัวของไอออนบวกกับไอออนลบ
ค. จัดเรียงตัวเป็นผลึก ง. มีผลรวมของประจุสุทธิ เป็น ศูนย์
17. กำหนดการจัดอิเล็กตรอนของธาตุให้ ดังนี้ A 2,8,2 B 2,8,8,1 C 2,8,7 D 2,8,18, 8 ธาตุคู่ใดมีการเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกได้
ก. A กับ D ข. C กับ D ค. B กับ C ง. B กับ D
ก. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนยาก ข. อโลหะมีค่า EN สูงเสียอิเล็กตรอนง่าย
ค. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนยาก ง. อโลหะมีค่า EN ต่ำเสียอิเล็กตรอนง่าย
19. พันธะเคมี หมายถึง อะไร
ก. แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอม ข. พลังงานที่ทำให้อะตอมสลายตัว
ค. การอยู่รวมกันของอะตอม ง. การอยู่รวมกันของโมเลกุล
ก. สาร C ข. สาร A และ C ค. สาร A เเละ B ง. สาร B และ C
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น